วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร

เหตุผลที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
                     เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT มีบทบาทหลักในการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและช่วยให้การดำเนินกิจกรรม กระบวนการ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรสะดวกยิ่งขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยสนับสนุนให้องค์กรก้าวสู่ความเป็นผู้นำ ดังนั้นผู้บริหารและสมาชิกขององค์กรจึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เกี่ยวข้องกับงาน และที่เกี่ยวข้องกับองค์กร สำหรับบุคคลทั่วไป การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มโอกาสในการเลือกอาชีพ ได้รับเงินเดือนสูง มีโอกาสก้าวหน้าในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้าง การใช้และการบริหารระบบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จ รู้จักเรียนรู้และหลีกเลี่ยงความล้มเหลว ในอดีตผู้บริหารองค์กรมักจะเป็นผู้ที่อยู่ในสายงานด้านการเงินหรือการตลาด แต่ในอนาคตผู้บริหารองค์กรจะต้องมีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและมีประสบการณ์การทำงานจากสายงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
                การพัฒนาองค์กรโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
องค์กรต่างๆ มีวัตถุประสงค์ที่จะบรรลุผลสำเร็จและก่อให้เกิดความได้เปรียบที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน โดยการนำเอาเทคโนโลยีของเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น เช่น การควบคุมสิทธิของการใช้งานให้ผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวสามารถทำงานร่วมกันได้ การที่มีข่าวสารหรือสารสนเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ต้องมีคลังในการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นที่เป็นระบบ จึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการกับเอกสาร ระบบการจัดการที่ช่วยในการตัดสินใจสำหรับผู้บริหาร การใช้โปรแกรมเชิงวัตถุ (object - oriented programming) ในการสร้างเว็บไซด์เพื่อการทำธุรกรรมทางการค้า เนื่องจากมีการผลิตเทคโนโลยีที่สามารถพกพาไปไหนได้อย่างสะดวก เช่น PDA , LAPTOP เป็นต้น ทำให้ง่ายสำหรับการทำงาน
                ประสิทธิภาพของการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสนับสนุนการทำงานด้านต่าง ๆ ขององค์กรในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งในแต่ละระดับขององค์กรจะมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อประโยชน์ที่แตกต่างกัน เช่น ฝ่ายตลาดจะมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการกำหนดกลุ่มลูกค้า ช่วยพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า สนับสนุนการขายสินค้าและบริการ และการให้บริการแก่ลูกค้า ส่วนฝ่ายผลิตมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการวางแผน การพัฒนา และการผลิตสินค้าและบริการ และควบคุมการไหลเวียนของกระบวนการผลิต สำหรับฝ่ายบัญชีและการเงิน มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อติดตามการเก็บรักษาและใช้งานทรัพย์สินขององค์กร และกระบวนการไหลเวียนของระบบเงินทุน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพในภาพรวมขององค์กรได้ดังนี้
1.จัดการด้านการคำนวณเชิงตัวเลขที่มีขนาดใหญ่และความเร็วสูง
2.จัดให้มีการสื่อสารที่มีราคาไม่แพง แม่นยำ และรวดเร็วให้มีใช้ภายในองค์กรและระหว่างองค์กร
3.ทำการเก็บสารสนเทศขนาดใหญ่ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและใช้เนื้อที่น้อย
4.สามารถเข้าถึงสารสนเทศจำนวนมากจากทั่วโลกอย่างรวดเร็วและราคาไม่แพง
5.สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกันจากทุก ๆ ที่ทุกเวลา
6. เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานเป็นทีม โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่เดียวกัน
7.ทำให้เป็นอัตโนมัติทั้งกระบวนการทางธุรกิจที่เป็นแบบกึ่งอัตโนมัติและงานที่ยังใช้มือทำ (Manual)
8. ช่วยแปลความหมาย (Interpretation) จากข้อมูลจำนวนมหาศาล
9. ช่วยด้านกิจการการค้าทั่วโลก (Global Trade)
10. สามารถดำเนินงานแบบไร้สาย (Wireless) เพื่อสนับสนุนการประยุกต์ใช้งานในรูปแบบเฉพาะ
11.การดำเนินงานดังกล่าวข้างต้น ต้องมีราคาถูกกว่าการทำด้วยมือ (Manual)
12. สามารถสนับสนุนวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ คือ ปรับปรุงผลิตผล (Improving Productivity) ลดต้นทุน    (Reducing Cost) สนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Making) เพิ่มความสัมพันธ์กับลูกค้า (Enhancing Customer Relationship) และพัฒนาการประยุกต์ใช้กลยุทธ์ใหม่ ๆ
                เครือข่ายคอมพิวเตอร์
                Networked computing คือการเอาระบบสารสนเทศไปติดตั้งหรือโฮสต์บนอินเทอร์เน็ต โดยมีองค์กรที่สาม เป็นผู้จัดเตรียมทรัพยากรคอมพิวเตอร์และดูแลระบบสารสนเทศของลูกค้าที่ได้นำ มาติดตั้งซึ่งจะเชื่อมแต่ละเครื่องเข้าด้วยกันเหมือนสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เสมือน ทำให้ทำงานเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะมีการแบ่งงานกันทำงาน จะมี network เป็นตัวกลางของแต่ละเครื่องช่วยในการประมวลผล วิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ ซึ่งจะประกอบไปด้วย 1.ความต้องการ (Requirement) คือ ความต้องการของผู้ใช้ระบบ 2.ทรัพยากร (Resource) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ประมวลผลข้อมูล เช่น RAM , Hard disk , CPU เป็นต้น 3.บริการ (Service)
                ระบบเรียลไทม์ (Real-time)
The real-time enterprise and list of characteristic: ระบบ real-time และลักษณะของระบบ
Rail time enterprise เป็นระบบระบบหนึ่งที่นำเทคโนโลยีมาลดเวลาในระหว่าง เมื่อมีข้อมูลที่จะบันทึกเข้าไปในระบบและเมื่อข้อมูลจะเข้าสู่การประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการและนำไปช่วยในการตัดสินใจได้ และนี่ก็เป็นสี่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับระบบที่มีความซับซ้อน ยุ่งยากในเรื่องของความแตกต่างทางด้านธุรกิจ
ลักษณะของระบบ
1. ความรู้จากการดำเนินการของคุณ ลักษณะพิเศษของระบบ real-time คือ มีการทำงานร่วมกันภายในระบบโดยใช้เวลาไม่มากเพื่อให้รู้โครงสร้างในการตัดสินใจทางธุรกิจ
2. ผลที่ได้ของระบบ การส่งของมูลของระบบ real-time จะส่งอย่างรวดเร็วและบ่อยครั้งมีการโต้ตอบหากเกิด Event บางอย่างเช่น หากมีการส่งสินค้าช้า ควรจะต้องทำอย่างไรบ้าง 3. เข้าใจในผลประโยชน์ของคุณ ระบบ Real-time มีจุดมุ่งหมายที่จะรองรับผลประโยชน์ทั้งหมดอย่างรวดเร็วเหมือนเป็นหุ้นส่วนในธุรกิจของคุณ
                แมสคัสโตไมเซชั่น (Mass Customization)
แมสคัสโตไมเซชั่น (Mass Customization) เป็นการปรับกระบวนการผลิตและโครงสร้างขององค์กรไม่ให้มีข้อจำกัดมากเกินไป แต่ให้มีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง โดยสามารถผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองลูกค้าที่แตกต่างกันได้เป็นรายคน มีระดับราคาที่ไม่ห่างจากการผลิตสินค้าหรือบริการจำนวนมากที่มีมาตรฐานการ (Standardization) ถ้าสินค้าของเรามีความแตกต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน จะทำให้องค์กรหรือธุรกิจมีความได้เปรียบนาน แมสคัสโตไมเซชั่น (Mass Customization) เป็นโมเดลใหม่ที่มาแทนที่ Mass Production ซึ่งเป็นการผลิตสินค้าออกมาจำนวนมากๆ ขึ้นอยู่กับต้นทุน เพื่อให้ได้ผลกำไรให้ได้มากที่สุด ยกตัวอย่างของแมสคัสโตไมเซชั่น (Mass Customization) เช่น บริษัทพีซีคอมพิวเตอร์เปิดเว็บไซด์ (Website) ขึ้นมาสำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อคอมพิวเตอร์พีซี ลูกค้าสามารถกำหนดความต้องการ หรือกำหนดสเปกของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ต้องการ เลือก Main Board ที่ชอบ หรือ CPU ที่พอใจ พอใส่ข้อมูลเสร็จทาง เว็บไซด์ (Website) ก็จะคำนวณราคาให้ตามที่ลูกค้าต้องการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น